A: ตามท้องตลาดส่วนมากหมายถึงสายชนิด NYY (สายไฟมาตรฐานอุตสาหกรรม มอก. 11-2531) เป็นสายไฟที่ใช้ในงานประเภทแรงดันต่ำ ที่ทนแรงดันได้ไม่เกิน 750 โวลท์ ที่อุณหภูมิไม่เกิน 75 องศาเซลเซียส ซึ่งมีหลายแบบทั้งแบบสายเดี่ยว, 2 แกน, 3 แกน และ 4 แกน คุณสมบัติคือ แกนในเป็นเกลียวทองแดงฝอยเล็ก ชนวนหลายชั้นมีความปลอดภัยสูง อ่อนตัวโค้งงอได้ดี เหมาะสำหรับงานที่มีการรื้อ-ถอน เคลื่อนย้ายสายไฟบ่อยๆ เช่นงานแบบติดตั้งชั่วคราว งานภาคสนามบนพื้นราบ หรือไม่สูงจากพื้นมากนัก เพราะมีน้ำหนักมากกว่าสาย THW และจะมีราคาต่อเมตรแพงกว่า
สายแข็ง – ส่วนมากจะนิยมใช้เรียกสาย THW ซึ่งเป็นชื่อตามมาตรฐานอเมริกา (มอก. 11 – 2531) เป็นสายไฟที่ใช้ในงานประเภทแรงดันต่ำเช่นกัน และทนแรงดันได้ไม่เกิน 600 โวลท์ ทนอุณหภูมิได้ 75 องศาเซลเซียส ไส้ในเป็นทองแดงเส้นใหญ่และชนวนชั้นเดียวเป็นแบบ PVC ซึ่งทำให้สายค่อนข้างแข็ง ไม่เหมาะกับการโค้งงอบ่อย ไม่ทนต่อการลากสายและขูดขีดบ่อย เพราะอาจทำให้ไฟรั่วได้ เหมาะสำหรับการเดินสายติดตั้งประจำที่ (ลอยตัว) และต้องเดินในสถานที่แห้งไม่เปียกชื้นหรือในท่อ เช่นตามโรงงาน ห้ามเดินฝังดินโดยตรง ข้อดีคือมีราคาถูก ขนาดเล็ก น้ำหนักเบากว่าสาย NYY
A: มีทุกระบบมาตรฐานสากลทั้งในแบบที่ใช้ในโซนยุโรป, อเมริกา, เอเชีย, ญี่ปุ่น, จีน หรือไทย โดยบริษัทสามารถจัดให้ได้ตามมาตรฐานที่ลูกค้าต้องการ
A: ลูกค้าสามารถประเมินหาขนาดของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่จะใช้ได้จากหลายข้อมูล อาทิ ข้อมูลของขนาดมิเตอร์, ขนาดหม้อแปลง, ใบเสร็จรับเงินของการไฟฟ้า, ขนาดตู้เมน-เบรคเกอร์จ่ายกระแสไฟฟ้า, ขนาดและจำนวนอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า
ใน กรณี่ที่ไม่มั่นใจ ลูกค้าสามารถบอกรายละเอียดการนำไปใช้ ว่าจะนำไปใช้กับงานลักษณะใดและต้องมีโหลดไฟอะไรบ้าง และทางบริษัทจะทำการคำนวนหาขนาดของเครื่องที่ถูกต้องและเหมาะสมให้เป็นกรณีๆ ไป
A: ในการให้เช่าเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ ทางบริษัทจะมีการคิดค่าเช่า แบบราย 1 วัน (ภายใน 24 ชั่วโมง), 2 วันขึ้นไป (เป็นรายวัน), และรายเดือน ซึ่งการเช่าใช้จำนวนหลายวันจะได้อัตราค่าเช่าที่ถูกกว่า
A: ถ้าเช่าในนามบริษัท ต้องใช้เอกสารดังนี้ – ใบสั่งเช่า (PO), แผนที่สถานที่ใช้งาน, และเงินมัดจำล่วงหน้า ถ้าเช่าในนามบุคคลธรรมดา ต้องใช้เอกสารดังนี้ – บัตรประชาชนตัวจริงของผู้ที่จะทำสัญญาเช่า (พร้อมสำเนาเซ็นชื่อรับรอง), ทะเบียนบ้านตัวจริงของผู้ที่จะทำสัญญาเช่า (พร้อมสำเนาเซ็นชื่อรับรอง), แผนที่สถานที่ใช้งาน, เงินมัดจำล่วงหน้า
A: กรณีเช่าในนามบริษัท ลูกค้าต้องเตรียม – สำเนาเซ็นชื่อรับรองหนังสือรับรองบริษัท, สำเนาเซ็นชื่อรับรอง ภพ. 20 (ใบจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม), ใบสั่งเช่า (PO), แผนที่สำนักงาน, แผนที่สถานที่ใช้งาน, และเงินมัดจำล่วงหน้า
กรณีเช่าในนามบุคคลธรรมดา ลูกค้าต้องเตรียม – บัตรประชาชนตัวจริงของผู้ทำสัญญาเช่า (พร้อมสำเนาเซ็นชื่อรับรอง 1 ชุด), ทะเบียนบ้านตัวจริงของผู้ทำสัญญาเช่า (พร้อมสำเนาเซ็นชื่อรับรอง 1 ชุด), แผนที่บ้าน, แผนที่สถานที่ใช้งาน, เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ (ที่บ้าน,มือถือ), และเงินมัดจำล่วงหน้า
A: ระบบควบคุมอัตโนมัติ หรือเรียกอีกอย่างว่า อุปกรณ์สตาร์ทเครื่องอัตโนมัติ ปัจจุบันได้รับความนิยมอย่างมาก ระบบอัตโนมัตินี้จะทำงานโดยการติดเครื่องยนต์ในทันทีที่กระแสไฟฟ้าขัดข้อง ซึ่งสามารถลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงานควบคุมได้มาก และการจ่ายกระแสไฟฟ้าฉุกเฉินเป็นไปอย่างรวดเร็ว ประมาณ 1 -2 นาทีเท่านั้น
A: เราสามารถทราบได้จากขนาดของลวดเชื่อมว่ามีขนาดเท่าใด คือ ถ้าลวดเชื่อมขนาด 2.6 -3.2 มิลลิเมตรควรใช้เครื่องเชื่อมขนาด 300 แอมป์ ลวดเชื่อม 3.2-4 มิลลิเมตร ควรใช้เครื่องเชื่อม 400 แอมป์ ลวดเชื่อม 5-6 มิลลิเมตร ควรใช้เครื่องเชื่อม 500 แอมป์
A: เราสามารถแปลงค่า จาก kw เป็น kVA โดยการนำค่า kw ที่ได้มาหารกับ 0.8 ค่าที่ได้ออกมาจะเป็นค่าของ kVA
A: ทางบริษัทนำแสง มีหลักการคิดค่าขนส่งตามระยะทาง และขนาดของเครื่อง
A: เครื่องลมที่ออกแบบตามมาตรฐานนั้นจะอยู่ที่ระดับ 7 Bar หรือไม่เกิน 8.5 Bar ส่วนเครื่องลมที่ระดับบาร์สูงกว่านี้ขึ้นไปจะเรียกว่า High Pressure
A: อุปกาณ์ทั้งสองชนิดทำหน้าที่ช่วยป้องกันไฟฟ้าเกินหรือลัดวงจรด้วยกันทั้งคู่ สำหรับคัตเอาต์เมื่อกะแสไฟฟ้ามากเกินไปหรือเกิดลัดวงจรฟิวส์จะขาด ส่วนถ้าเป็นเซอร์กิตเบรคเกอร์ก็จะเกิดอาการเด้ง หรือที่ช่างเรียกว่า “ทริพ” (trip) ในปัจจุบันคนทั่วไปนิยมใช้เซอร์กิตเบรคเกอร์กันมากขึ้น เนื่องจากสะดวกที่ไม่ต้องเปลี่ยนฟิวส์และดูเรียบร้อยกะทัดรัดกว่า
A: ประกอบด้วยข้อมูลดังนี้
- ด้านความเสถียรภาพด้านความเร็วของเครื่องยนต์
- ด้านความเสถียรภาพของแรงดันไฟฟ้า
- ด้านการใช้งานที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงการใช้กระแสไฟฟ้ามาก
- เกี่ยวกับภูมิอากาศของสถานที่ติดตั้ง
- ลักษณะการติดตั้ง
A:
- ตรวจเช็คว่าเมนไลน์เซอร์กิตเบรคเกอร์ได้ปลดออกแล้วหรือยัง
- เดินเครื่องรอบเบาทิ้งไว้ประมาณ 3-5 นาที โดยไม่จ่ายไฟ เพื่อให้ความร้อนตามบริเวณแบริ่ง เพลา และห้องเผาไหม้ได้ระบายออกไปกับน้ำมันเสียก่อน วิธีนี้จำเป็นสำหรับเครื่องยนต์ที่มีเทอร์โบชาร์จเจอร์
- ดับเครื่องโดยการดันปุ่มสวิทช์ช่วยสตาร์ทมา ณ ตำแหน่ง STOP
A: เพราะ การดึงคันโยกนี้ขึ้นจะทำให้วาล์วไอเสียหรือไอดีเปิดออก เป็นผลให้ขาตะเกียบยกพ้นจากซ็อกเก็ตของมัน ซึ่งวิธีนี้จะทำให้เกิดการสึกหรอตามปลายมนของขาตะเกียบและบริเวณด้านในช่อง ซ็อกเก็ตได้